วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ตัวอย่างโครงงาน

ชื่อโครงงาน       สีผมสวยด้วยใบกาว
ผู้จัดทำ              เด็กหญิงลัดดาวัลย์ ฆารศรี
                          เด็กหญิงกาญจนา พละสินธุ์
                          เด็กหญิงธิติมา น้อยนาจารย์
ครูที่ปรึกษา       นางสุภาพรรณ ดาษถนิม
                         นางสุพรรณี ถนอมสงัด
ผลงาน              เข้าร่วมการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เนื่องในสัปดาห์
                         วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร วันที่ 18-19 สิงหาคม 2549
จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
      1. เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างมวลของใบกาวสด และปริมาตรของน้ำสะอาดในการสกัดสารจากใบกาวสด
      2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสีผมของสารสกัดจากใบกาวสดตามอัตราส่วนที่เหมาะสม
     3. เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างมวลของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์และปริมาตรของน้ำสะอาดในการนำผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ไปใช้ในการเปลี่ยนสีผม
     4. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสีผมของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ตามอัตราส่วนที่เหมาะสม
     5.เพื่อนำพืชในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์และเพื่อความปลอดภัยของสุขภาพ

สมมติฐานของการศึกษา
     1. สารสกัดจากใบกาวจะมีประสิทธิภาพในการทำให้สีผมเปลี่ยนไป
     2. ผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์จะมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสีผมได้เหมือนกับสารสกัดใบกาวสดและสามารถนำมาใช้แทนกันได้

วัสดุ-อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ
มวลของใบกาว : ปริมาตรของน้ำสะอาด 100 กรัม : 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร
     1. นำใบกาวสดมวล 100 กรัม มาปั่นให้ละเอียด
     2. นำใบกาวที่ได้จากข้อ 1 ใส่ลงในกะละมังใบเล็ก
     3.เติมน้ำสะอาด ปริมาณ 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในกะละมังที่มีใบกาวปั่นละเอียด
     4.คั้นใบกาวในกะละมังใบเล็กจนกระทั่งใบมีสีซีด
     5.กรองเอาสารที่ได้จากข้อ 4 โดยใช้ผ้าขาวบางและใช้ตะแกรงกรอง
     6.ได้สารที่สกัดมาจากการสกัดใบกาว
     7.นำสารสกัดใบกาวสดลงในหลอดทดลองเพื่อเปรียบเทียบกับอัตราส่วนอื่น

วัสดุ-อุปกรณ์
     1.ตัวอย่างเส้นผมที่นำมาทดลอง
     2.สารสกัดใบกาวสด ตามอัตราส่วนที่เลือกไว้
     3.น้ำเปล่า

วิธีดำเนินการทดลอง
     1.นำสารสกัดจากใบกาวสด ตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้มาชโลมเส้นผมที่นำมาทดลอง
     2.หมักตัวอย่างผสมกับสารสกัดใบกาวสดโดยหมักไว้นาน 30 นาที
     3.ครบ 30 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำเปล่า
     4.สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสีผม

วัสดุ-อุปกรณ์
     1. ใบกาวแห้ง มวล 150 กรัม
     2. เครื่องปั่นผลไม้จำนวน 1 เครื่อง
     3. เครื่องชั่ง จำนวน 1 เครื่อง
     4. ผ้าขาวบาง จำนวน 1 ผืน
     5. บีกเกอร์ จำนวน 2 ใบ
     6. น้ำสะอาด จำนวน 60 ลูกบาศก์เซนติเมตร

วิธีดำเนินการทดลอง
ขั้นเตรียมผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์
     นำใบกาวแห้ง มวล 150 กรัมใส่ลงในโถเครื่องปั่น และปั่นจนกระทั่งได้ผงใบกาวบริสุทธิ์ที่ละเอียด แล้ว กรองด้วยผ้าขาวบางอีกครั้ง เพื่อให้ได้ผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ที่มีขนาดละเอียดเล็กที่สุด
ขั้นการหาอัตราส่วนที่เหมาะสม
     1.ชั่งผงใบกาวบริสุทธิ์ มวล 5 กรัม และ 10 กรัม ใส่ลงในบีกเกอร์ 2 ใบ
     2.เติมน้ำลงในบีกเกอร์ที่มีผงใบกาวบริสุทธิ์ใบละ 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร
     3.สังเกต การรวมตัวเป็นเนื้อเดียวของสาร

วัสดุ-อุปกรณ์
     1.ผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ มวลตามอัตราส่วนที่เลือกไว้
     2.น้ำสะอาด ปริมาตรตามอัตราส่วนเหมาะสมที่เลือกไว้
     3.ตัวอย่างเส้นผมที่นำมาทำการทดลอง

วิธีดำเนินการทดลอง      1.นำผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ใส่ลงในบีกเกอร์ แล้วเติมน้ำสะอาดลงไปในบีกเกอร์มวลของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ต่อปริมาตรของน้ำสะอาด เป็นไปตามอัตราส่วนที่เลือกไว้
     2.นำเอาส่วนผสมของข้อที่ 1 มาชโลมตัวอย่างเส้นผมที่นำมาทดลอง
     3.หมักตัวอย่างผมกับผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ไว้นาน 30 นาที
     4.ครบ 30 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำเปล่า
     5.สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสีผม

ผลการดำเนินการ ตอนที่ 1 อัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างมวลของใบกาวสด กับปริมาตรของน้ำสะอาด คือ
มวลใบกาวสด : ปริมาตรน้ำสะอาด ผลการสังเกต
50 กรัม : 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร100 กรัม : 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร ได้ของเหลวสีเขียวอมเหลืองได้ของเหลวสีเขียวเข้มอมเหลือง
     ทดลองหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างมวลของใบกาวสดกับปริมาตรน้ำสะอาด อัตราที่เหมาะสม คือ มวลของใบกาวสด 100 กรัมต่อน้ำสะอาด 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร เพราะจะให้สารสกัดจากใบกาวสดมีสีเข้มที่สุด
ตอนที่ 2 ทดสอบประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสีของผมเมื่อทดสอบกับอัตราส่วนของสารสกัดใบกาวสดที่เลือกไว้ ( มวลของใบกาวสด 100 กรัมต่อน้ำสะอาด 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร )
ระยะเวลาในการหมักผม การเปลี่ยนของสีผม
30 นาที - ส่วนผมที่เคยเป็นสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง- ส่วนผมที่เคยเป็นสีดำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
     ทดลอบหาประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสีของผมเมื่อทดสอบกับอัตราส่วนของสารสกัดใบกาวสด คือ มวลของใบกาวสด 100 กรัมต่อน้ำสะอาด 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร ผลการทดสอบประสิทธิภาพการเปลี่ยนสีผม คือ ผมที่เคยเป็นสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงส่วนผมที่เคยเป็นสีดำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
ตอนที่ 3 การทดสอบหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างมวลของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์กับปริมาตรของน้ำสะอาดในการนำผงสกัดไปใช้ในการเปลี่ยนสีผม
มวลผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ : ปริมาตรน้ำสะอาด ผลการสังเกต
5 กรัม : 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร10 กรัม : 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร ผงสกัดใบกาวรวมเป็นเนื้อเดียวกันกับน้ำได้พอดีผงสกัดใบกาวบางส่วนที่ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกันกับน้ำ
     ทดสอบหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างมวลของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์กับปริมาตรของน้ำสะอาดในการนำผงสกัดไปใช้ในการเปลี่ยนสีผม อัตราส่วนที่เหมาะสมคือ มวลของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ 5 กรัมต่อปริมาตรของน้ำสะอาด 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร เพราะผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์จะรวมเป็นเนื้อเดียวกับน้ำอย่างลงตัวพอดี
ตอนที่ 4 ทดสอบประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสีผมของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ตามอัตราส่วน มวลของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ 5 กรัม ต่อน้ำ 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ระยะเวลาในการหมักผม การเปลี่ยนของสีผม
30 นาที - ส่วนผมที่เคยเป็นสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลทอง- ส่วนผมที่เคยเป็นสีดำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
     ทดสอบประสิทธิภาพการเปลี่ยนสีผม ของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ตามอัตราส่วน มวลของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ 5 กรัม ต่อน้ำ 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร ผลการทดสอบประสิทธิภาพการเปลี่ยนสีผม คือ ผมที่เคยเป็นสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลทองส่วนผมที่เคยเป็นสีดำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
ตอนที่ 5 การเผยแพร่เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน จะเห็นว่า สารสกัดจากใบกาวสดและผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์สามารถเปลี่ยนสีผมจากสีเดิม เป็นสีโทนน้ำตาล ดังนั้นจึงเหมาะที่นำมาใช้ในการเปลี่ยนสีผมแทนน้ำยาเปลี่ยนสีผมที่ขายตามท้องตลาดทั่วไปเพราะไม่เป็นอันตรายต่อเส้นผมและหนังศีรษะและประหยัดด้วย

สรุปผลและอภิปรายผล
สรุปผลการทดลอง
ตอนที่ 1 อัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างมวลของใบกาวสด กับปริมาตรของน้ำสะอาด
คือ มวลของใบกาวสด 100 กรัม ต่อน้ำสะอาด 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร เพราะจะให้สารสกัดจากใบกาวสดมีสีเข้มที่สุด
ตอนที่ 2 ประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสีของผม คือ ใบกาวสด 100 กรัม ต่อน้ำสะอาด 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร ผมที่เคยเป็นสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง ส่วนผมที่เคยเป็นสีดำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
ตอนที่ 3 อัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างมวลของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์กับปริมาตรของน้ำสะอาดในการนำผงสกัดไปใช้ในการเปลี่ยนสีผม คือมวลของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ 5 กรัมต่อปริมาตรของน้ำสะอาด30 ลูกบาศก์-เซนติเมตร ซึ่งผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์จะรวมเป็นเนื้อเดียวกับน้ำอย่างลงตัวพอดี
ตอนที่ 4 ประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสีผมของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ตามอัตราส่วนคือมวลของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ 5 กรัม ต่อน้ำ 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร ผลการทดสอบประสิทธิภาพการเปลี่ยนสีผมคือ ผมที่เคยเป็นสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลทองส่วนผมที่เคยเป็นสีดำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
ตอนที่ 5 การเผยแพร่เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
     จากการนำไปเผยแพร่ เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน จะเห็นว่าสารสกัดจากใบกาวสด และผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ สามารถเปลี่ยนสีผมจากสีเดิมเป็นสีโทนน้ำตาล ดังนั้นจึงเหมาะที่นำมาใช้ในการเปลี่ยนสีผม แทนน้ำยาสีผมที่ขายตามท้องตลาดทั่วไปเพราะไม่เป็นอันตรายต่อเส้นผมและหนังศีรษะและยังเป็นการประหยัดอีกด้วย

อภิปรายผลการทดลอง      จากการทดลองจะเห็นว่าสารสกัดใบกาวสดและผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์สามารถเปลี่ยนสีผมจากสีเดิมเป็นสีโทนน้ำตาลได้ เพื่อให้สะดวกต่อการนำไปใช้ในการเปลี่ยนสีผม ควรใช้ผลิตภัณฑ์ผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์จะดีกว่าเพราะไม่ยุ่งยากในการเตรียมสารสกัดเพียงแค่เอาผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ผสมกับน้ำก็สามารถนำไปใช้ได้เลย ซึ่งสะดวกต่อการนำไปใช้ มีกลิ่นหอมกว่าและสามารถเก็บไว้ได้นานกว่าอีกด้วย ถ้าต้องการให้มีสีอื่นผสมควรใช้พืชชนิดอื่นมาเป็นส่วนผสม เช่น
     -ถ้าต้องการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลม่วง ควรใช้ดอกอัญชัน เป็นส่วนผสมและใช้น้ำมะนาวผสมแทนน้ำเปล่า
     -ถ้าต้องการเปลี่ยนสีน้ำตาลช็อกโกแลต (สีน้ำตาลไหม้)ควรใช้กาแฟเป็นส่วนผสม การใช้สารสกัดด้วยใบกาวเปลี่ยนสีผม สามารถทำได้ทุกเวลาที่ต้องการ ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อเส้นผมและหนังศีรษะ

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
     1. ได้อัตราส่วนที่เหมาะสมของใบกาวสดต่อน้ำสะอาดในการทำสารสกัดใบกาว
     2. ได้ทราบถึงประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสีผมของสารสกัดใบกาวสด
     3. ได้อัตราส่วนที่เหมาะสมของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ต่อน้ำสะอาดในการเปลี่ยนสีผม
     4. ได้ทราบถึงประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสีผมของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์
     5. ได้นำพืชในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์และปลอดภัยต่อสุขภาพ


ข้อเสนอแนะ
     ควรทดลองนำพืชชนิดอื่นที่ให้สีแตกต่างกันมาเป็นส่วนผสม เพราะจะได้สีผมที่หลากหลายมาก ยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น