วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ตัวอย่างโครงงาน

ชื่อโครงงาน       สีผมสวยด้วยใบกาว
ผู้จัดทำ              เด็กหญิงลัดดาวัลย์ ฆารศรี
                          เด็กหญิงกาญจนา พละสินธุ์
                          เด็กหญิงธิติมา น้อยนาจารย์
ครูที่ปรึกษา       นางสุภาพรรณ ดาษถนิม
                         นางสุพรรณี ถนอมสงัด
ผลงาน              เข้าร่วมการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เนื่องในสัปดาห์
                         วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร วันที่ 18-19 สิงหาคม 2549
จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
      1. เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างมวลของใบกาวสด และปริมาตรของน้ำสะอาดในการสกัดสารจากใบกาวสด
      2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสีผมของสารสกัดจากใบกาวสดตามอัตราส่วนที่เหมาะสม
     3. เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างมวลของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์และปริมาตรของน้ำสะอาดในการนำผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ไปใช้ในการเปลี่ยนสีผม
     4. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสีผมของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ตามอัตราส่วนที่เหมาะสม
     5.เพื่อนำพืชในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์และเพื่อความปลอดภัยของสุขภาพ

สมมติฐานของการศึกษา
     1. สารสกัดจากใบกาวจะมีประสิทธิภาพในการทำให้สีผมเปลี่ยนไป
     2. ผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์จะมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสีผมได้เหมือนกับสารสกัดใบกาวสดและสามารถนำมาใช้แทนกันได้

วัสดุ-อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ
มวลของใบกาว : ปริมาตรของน้ำสะอาด 100 กรัม : 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร
     1. นำใบกาวสดมวล 100 กรัม มาปั่นให้ละเอียด
     2. นำใบกาวที่ได้จากข้อ 1 ใส่ลงในกะละมังใบเล็ก
     3.เติมน้ำสะอาด ปริมาณ 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในกะละมังที่มีใบกาวปั่นละเอียด
     4.คั้นใบกาวในกะละมังใบเล็กจนกระทั่งใบมีสีซีด
     5.กรองเอาสารที่ได้จากข้อ 4 โดยใช้ผ้าขาวบางและใช้ตะแกรงกรอง
     6.ได้สารที่สกัดมาจากการสกัดใบกาว
     7.นำสารสกัดใบกาวสดลงในหลอดทดลองเพื่อเปรียบเทียบกับอัตราส่วนอื่น

วัสดุ-อุปกรณ์
     1.ตัวอย่างเส้นผมที่นำมาทดลอง
     2.สารสกัดใบกาวสด ตามอัตราส่วนที่เลือกไว้
     3.น้ำเปล่า

วิธีดำเนินการทดลอง
     1.นำสารสกัดจากใบกาวสด ตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้มาชโลมเส้นผมที่นำมาทดลอง
     2.หมักตัวอย่างผสมกับสารสกัดใบกาวสดโดยหมักไว้นาน 30 นาที
     3.ครบ 30 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำเปล่า
     4.สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสีผม

วัสดุ-อุปกรณ์
     1. ใบกาวแห้ง มวล 150 กรัม
     2. เครื่องปั่นผลไม้จำนวน 1 เครื่อง
     3. เครื่องชั่ง จำนวน 1 เครื่อง
     4. ผ้าขาวบาง จำนวน 1 ผืน
     5. บีกเกอร์ จำนวน 2 ใบ
     6. น้ำสะอาด จำนวน 60 ลูกบาศก์เซนติเมตร

วิธีดำเนินการทดลอง
ขั้นเตรียมผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์
     นำใบกาวแห้ง มวล 150 กรัมใส่ลงในโถเครื่องปั่น และปั่นจนกระทั่งได้ผงใบกาวบริสุทธิ์ที่ละเอียด แล้ว กรองด้วยผ้าขาวบางอีกครั้ง เพื่อให้ได้ผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ที่มีขนาดละเอียดเล็กที่สุด
ขั้นการหาอัตราส่วนที่เหมาะสม
     1.ชั่งผงใบกาวบริสุทธิ์ มวล 5 กรัม และ 10 กรัม ใส่ลงในบีกเกอร์ 2 ใบ
     2.เติมน้ำลงในบีกเกอร์ที่มีผงใบกาวบริสุทธิ์ใบละ 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร
     3.สังเกต การรวมตัวเป็นเนื้อเดียวของสาร

วัสดุ-อุปกรณ์
     1.ผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ มวลตามอัตราส่วนที่เลือกไว้
     2.น้ำสะอาด ปริมาตรตามอัตราส่วนเหมาะสมที่เลือกไว้
     3.ตัวอย่างเส้นผมที่นำมาทำการทดลอง

วิธีดำเนินการทดลอง      1.นำผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ใส่ลงในบีกเกอร์ แล้วเติมน้ำสะอาดลงไปในบีกเกอร์มวลของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ต่อปริมาตรของน้ำสะอาด เป็นไปตามอัตราส่วนที่เลือกไว้
     2.นำเอาส่วนผสมของข้อที่ 1 มาชโลมตัวอย่างเส้นผมที่นำมาทดลอง
     3.หมักตัวอย่างผมกับผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ไว้นาน 30 นาที
     4.ครบ 30 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำเปล่า
     5.สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสีผม

ผลการดำเนินการ ตอนที่ 1 อัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างมวลของใบกาวสด กับปริมาตรของน้ำสะอาด คือ
มวลใบกาวสด : ปริมาตรน้ำสะอาด ผลการสังเกต
50 กรัม : 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร100 กรัม : 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร ได้ของเหลวสีเขียวอมเหลืองได้ของเหลวสีเขียวเข้มอมเหลือง
     ทดลองหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างมวลของใบกาวสดกับปริมาตรน้ำสะอาด อัตราที่เหมาะสม คือ มวลของใบกาวสด 100 กรัมต่อน้ำสะอาด 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร เพราะจะให้สารสกัดจากใบกาวสดมีสีเข้มที่สุด
ตอนที่ 2 ทดสอบประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสีของผมเมื่อทดสอบกับอัตราส่วนของสารสกัดใบกาวสดที่เลือกไว้ ( มวลของใบกาวสด 100 กรัมต่อน้ำสะอาด 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร )
ระยะเวลาในการหมักผม การเปลี่ยนของสีผม
30 นาที - ส่วนผมที่เคยเป็นสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง- ส่วนผมที่เคยเป็นสีดำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
     ทดลอบหาประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสีของผมเมื่อทดสอบกับอัตราส่วนของสารสกัดใบกาวสด คือ มวลของใบกาวสด 100 กรัมต่อน้ำสะอาด 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร ผลการทดสอบประสิทธิภาพการเปลี่ยนสีผม คือ ผมที่เคยเป็นสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงส่วนผมที่เคยเป็นสีดำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
ตอนที่ 3 การทดสอบหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างมวลของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์กับปริมาตรของน้ำสะอาดในการนำผงสกัดไปใช้ในการเปลี่ยนสีผม
มวลผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ : ปริมาตรน้ำสะอาด ผลการสังเกต
5 กรัม : 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร10 กรัม : 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร ผงสกัดใบกาวรวมเป็นเนื้อเดียวกันกับน้ำได้พอดีผงสกัดใบกาวบางส่วนที่ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกันกับน้ำ
     ทดสอบหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างมวลของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์กับปริมาตรของน้ำสะอาดในการนำผงสกัดไปใช้ในการเปลี่ยนสีผม อัตราส่วนที่เหมาะสมคือ มวลของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ 5 กรัมต่อปริมาตรของน้ำสะอาด 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร เพราะผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์จะรวมเป็นเนื้อเดียวกับน้ำอย่างลงตัวพอดี
ตอนที่ 4 ทดสอบประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสีผมของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ตามอัตราส่วน มวลของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ 5 กรัม ต่อน้ำ 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ระยะเวลาในการหมักผม การเปลี่ยนของสีผม
30 นาที - ส่วนผมที่เคยเป็นสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลทอง- ส่วนผมที่เคยเป็นสีดำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
     ทดสอบประสิทธิภาพการเปลี่ยนสีผม ของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ตามอัตราส่วน มวลของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ 5 กรัม ต่อน้ำ 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร ผลการทดสอบประสิทธิภาพการเปลี่ยนสีผม คือ ผมที่เคยเป็นสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลทองส่วนผมที่เคยเป็นสีดำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
ตอนที่ 5 การเผยแพร่เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน จะเห็นว่า สารสกัดจากใบกาวสดและผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์สามารถเปลี่ยนสีผมจากสีเดิม เป็นสีโทนน้ำตาล ดังนั้นจึงเหมาะที่นำมาใช้ในการเปลี่ยนสีผมแทนน้ำยาเปลี่ยนสีผมที่ขายตามท้องตลาดทั่วไปเพราะไม่เป็นอันตรายต่อเส้นผมและหนังศีรษะและประหยัดด้วย

สรุปผลและอภิปรายผล
สรุปผลการทดลอง
ตอนที่ 1 อัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างมวลของใบกาวสด กับปริมาตรของน้ำสะอาด
คือ มวลของใบกาวสด 100 กรัม ต่อน้ำสะอาด 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร เพราะจะให้สารสกัดจากใบกาวสดมีสีเข้มที่สุด
ตอนที่ 2 ประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสีของผม คือ ใบกาวสด 100 กรัม ต่อน้ำสะอาด 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร ผมที่เคยเป็นสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง ส่วนผมที่เคยเป็นสีดำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
ตอนที่ 3 อัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างมวลของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์กับปริมาตรของน้ำสะอาดในการนำผงสกัดไปใช้ในการเปลี่ยนสีผม คือมวลของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ 5 กรัมต่อปริมาตรของน้ำสะอาด30 ลูกบาศก์-เซนติเมตร ซึ่งผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์จะรวมเป็นเนื้อเดียวกับน้ำอย่างลงตัวพอดี
ตอนที่ 4 ประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสีผมของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ตามอัตราส่วนคือมวลของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ 5 กรัม ต่อน้ำ 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร ผลการทดสอบประสิทธิภาพการเปลี่ยนสีผมคือ ผมที่เคยเป็นสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลทองส่วนผมที่เคยเป็นสีดำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
ตอนที่ 5 การเผยแพร่เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
     จากการนำไปเผยแพร่ เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน จะเห็นว่าสารสกัดจากใบกาวสด และผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ สามารถเปลี่ยนสีผมจากสีเดิมเป็นสีโทนน้ำตาล ดังนั้นจึงเหมาะที่นำมาใช้ในการเปลี่ยนสีผม แทนน้ำยาสีผมที่ขายตามท้องตลาดทั่วไปเพราะไม่เป็นอันตรายต่อเส้นผมและหนังศีรษะและยังเป็นการประหยัดอีกด้วย

อภิปรายผลการทดลอง      จากการทดลองจะเห็นว่าสารสกัดใบกาวสดและผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์สามารถเปลี่ยนสีผมจากสีเดิมเป็นสีโทนน้ำตาลได้ เพื่อให้สะดวกต่อการนำไปใช้ในการเปลี่ยนสีผม ควรใช้ผลิตภัณฑ์ผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์จะดีกว่าเพราะไม่ยุ่งยากในการเตรียมสารสกัดเพียงแค่เอาผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ผสมกับน้ำก็สามารถนำไปใช้ได้เลย ซึ่งสะดวกต่อการนำไปใช้ มีกลิ่นหอมกว่าและสามารถเก็บไว้ได้นานกว่าอีกด้วย ถ้าต้องการให้มีสีอื่นผสมควรใช้พืชชนิดอื่นมาเป็นส่วนผสม เช่น
     -ถ้าต้องการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลม่วง ควรใช้ดอกอัญชัน เป็นส่วนผสมและใช้น้ำมะนาวผสมแทนน้ำเปล่า
     -ถ้าต้องการเปลี่ยนสีน้ำตาลช็อกโกแลต (สีน้ำตาลไหม้)ควรใช้กาแฟเป็นส่วนผสม การใช้สารสกัดด้วยใบกาวเปลี่ยนสีผม สามารถทำได้ทุกเวลาที่ต้องการ ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อเส้นผมและหนังศีรษะ

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
     1. ได้อัตราส่วนที่เหมาะสมของใบกาวสดต่อน้ำสะอาดในการทำสารสกัดใบกาว
     2. ได้ทราบถึงประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสีผมของสารสกัดใบกาวสด
     3. ได้อัตราส่วนที่เหมาะสมของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์ต่อน้ำสะอาดในการเปลี่ยนสีผม
     4. ได้ทราบถึงประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสีผมของผงสกัดใบกาวบริสุทธิ์
     5. ได้นำพืชในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์และปลอดภัยต่อสุขภาพ


ข้อเสนอแนะ
     ควรทดลองนำพืชชนิดอื่นที่ให้สีแตกต่างกันมาเป็นส่วนผสม เพราะจะได้สีผมที่หลากหลายมาก ยิ่งขึ้น

ตัวอย่างโครงงานทางวิยาศาสตร์

ใบความรู้เรื่องโครงงานทางวิทยาศาสตร์

ความหมายของกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์

กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ คือ กิจกรรมสำหรับนักเรียนในการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยตนเอง โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ภายใต้คำแนะนำปรึกษาของครูหรือผู้เชี่ยวชาญ กิจกรรมนี้อาจทำเป็นกลุ่มหรือรายบุคคลก็ได้ และจะกระทำในเวลาเรียนหรือนอกเวลาเรียนก็ได้ โดยไม่จำกัดสถานที่

หลักการของกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์
- เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยนักเรียนจะเป็นผู้ริเริ่มวางแผน และดำเนินการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะแนวทางและให้คำปรึกษา
- เน้นกระบวนการแสวงหาความรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์โดยเริ่มจากการกำหนดปัญหา
เลือกหัวข้อที่ตนสนใจจะศึกษา วางแผนการศึกษาค้นคว้าดำเนินการรวบรวมข้อมูลทำการทดลองและสรุปผลการศึกษาค้นคว้า
- เน้นการคิดเป็น ทำเป็น และการแก้ปัญหาเป็นด้วยตนเอง

ความสำคัญและคุณค่าของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จุดมุ่งหมายระหว่างการเรียนวิทยาศาสตร์ทีกำหนดไว้ในหลักสูตรนั้นนอกจากจะต้องการให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระ
ของวิชาวิทยาศาสตร์แล้ว ยังต้องการให้นักเรียนมีทักษะในการศึกษาค้นคว้า มีความสนใจวิทยาศาสตร์ มีเจตคติและค่านิยมทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย เช่น มีความใฝ่รู้ ซื่อสัตย์ มีเหตุผล มีใจเป็นกลาง มีความเพียรพยายาม มีความละเอียดรอบคอบก่อนตัดสินใจ

ประเภทต่าง ๆ ของโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. โครงงานประเภทการสำรวจ
2. โครงงานประเภทการทดลอง
3. โครงการประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์
4. โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีหรือการอธิบาย

วิธีการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
การทำโครงงานวิทยาศาสตร์มีขั้นตอนที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 การคิดและเลือกชื่อเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา
ขั้นที่ 2 การวางแผนในการทำโครงงาน
ขั้นที่ 3 การลงมือทำโครงงาน
ขั้นที่ 4 การเขียนรายงาน
ขั้นที่ 5 การแสดงผลงาน

งานมอบหมายชิ้นที่ 1

1.วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
2. จงบอกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามความเข้าใจ
3. วิธีการคิดทางวิทยาศาสตร์มีกี่ขั้นพร้อมอธิบาย
4. สมมุติฐานต่างจากการพยากรณ์อย่างไรจงอธิบาย

   

ใบงานที่1 เรื่องทักษะทางวิทยาศาสตร์

ความหมายของวิทยาศาสตร์
จากการวิเคราะห์คำว่า “Science” ที่มีมาจากคำว่า Sientea ในภาษาลาติน แปลว่า ความรู้ (Knowledge) กล่าวได้ว่า วิทยาศาสตร์ คือ ความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ นอกจากนี้ยังกล่าวได้ว่าวิทยาศาสตร์ คือ องค์ความรู้ที่มีระบบและจัดไว้อย่างมีระเบียบแบบแผนโดยทั่วไปกระบวนการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (The Process of Science) ประกอบด้วยระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitude) ดังรูป


กล่าวโดยสรุป วิทยาศาสตร์ คือ องค์ความรู้ของธรรมชาติและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้นั้นอาศัยการสังเกตเป็นพื้นฐาน
ประเภทของวิทยาศาสตร์
การแบ่งประเภทของวิทยาศาสตร์ มีการแบ่งหลายระบบ แต่ละระบบมีเหตุผลและหลักเกณฑ์ต่างๆ กัน และหากจำแนกตามธรรมชาติของวิชา สามารถจำแนกได้ 3 สาขา คือ1) วิทยาศาสตร์กายภาพ
2) วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
3) วิทยาศาสตร์สังคม
- วิทยาศาสตร์กายภาพ เป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่างๆ ของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกและจักรวาล ในส่วนของสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เคมี ธรณีวิทยา และคณิตศาสตร์ ฯลฯ
- วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่างๆ ของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกและจักรวาล ในส่วนของสิ่งมีชีวิต เช่น ชีววิทยา สัตววิทยา ฯลฯ
- วิทยาศาสตร์สังคม เป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ และพฤติกรรมของมนุษย์ที่รวมกันอยู่เป็นชุมชนหรือสังคม เช่น สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ฯลฯ ในส่วนวิทยาศาสตร์กายภาพและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
เมื่อพิจารณารวมกันแล้ว สามารถจัดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์
วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (Pure Science) คือความรู้ความเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติที่เป็นไปตามกฎพื้นฐานของธรรมชาติ รวมทั้งปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จัดเป็นความรู้ขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย กฎและทฤษฎีต่างๆ ตลอดจนความจริงหรือข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอดที่มาจากการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ของนักวิทยาศาสตร์ เนื่องจากความต้องการที่จะหาความรู้ด้านต่างๆ
วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) คือ การนำองค์ความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ที่เป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ มาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์
วิทยาศาสตร์มีลักษณะสำคัญ สรุปได้ดังนี้คือ
1) วิทยาศาสตร์ได้มาจากประสบการณ์ และทดสอบด้วยประสบการณ์ ในที่นีความรุ้ที่มาจากประสบการณ์ เรียกว่า ความรู้เชิงประจักษ์หรือความรู้เชิงประสบการณ์ (Expirial Knowledge) โดยอาศัยประสาทสัมผัสทั้งห้าร่วมกับทักษะการสังเกต
2) วิทยาศาสตร์ต้องเป็นสาธารณะ ความจริงที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบจะต้องแสดงหรือทดลองให้ทุกคนเห็นได้เหมือนกัน และความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ของส่วนตัวแต่เป็นสาธารณะ คือ ผู้อื่นอาจรู้เห็นอย่างเดียวกันกับผู้ค้นพบได้
3) วิทยาศาสตร์มีลักษณะเป็นสากล นักวิทยาศาสตร์พยายามขยายความรู้ให้เป็นสากลมากที่สุดเพราะความรู้ที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงมีความหมายน้อย และขาดการยอมรับ
4) วิทยาศาสตร์ช่วยในการคาดหมายอนาคต วิทยาศาสตร์มีลักษณะความเป็นสากลใช้ได้โดยทั่วไป จึงสามารถคาดหมายสิ่งที่จะเกิดในอนาคตได้ ทั้งนี้การคิดค้นกฎและทฤษฎีต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์เพื่อคาดหมายในอนาคต
5) วิทยาศาสตร์เป็นปรนัย เมื่อวิทยาศาสตร์ถูกยอมรับและพิสูจน์แล้วว่าเป็นจริง ดังนั้นไม่ว่าใครจะนำไปพิสูจน์อีกเมื่อใด ที่ใดก็ตาม ผลที่ออกมาย่อมเหมือนเดิม ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงได้ เพราะวิทยาศาสตร์มีลักษณะไม่คงที่แน่นอนเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เมื่อมีการค้นพบความรู้ใหม่ ทั้งนี้เป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ๆ
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อาจแบ่งเป็น 6 ประเภท สรุปได้ดังนี้
1) ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์
2) ความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์
3) ความจริงหลักหรือหลักการ
4) กฎ
5) สมมุติฐาน
6) ทฤษฎี
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ สามารถระบุเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
ขั้นที่ 1 ระบุปัญหา
ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา
ขั้นที่ 3 ตั้งสมมุติฐาน
ขั้นที่ 4 สังเกตรวบรวมผล และ/หรือการทดลอง
ขั้นที่ 5 สรุปผลการสังเกต และ/หรือการทดลอง

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
สมาคมความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ (American Association for the Advancement of Science-AAAS) ได้กำหนดจุดมุ่งหมายของการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ทั้งสิ้น 13 ทักษะ
1. ทักษะการสังเกต (Observation)
2.ทักษะการวัด (Measurement)
3. ทักษะการคำนวณ (Using numbers)
4. ทักษะการจำแนกประเภท (Classification)
5. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา (Space/space Relationship and Space/Time Relationship)
6. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing data and communication)
7. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring)
8. ทักษะการพยากรณ์ (Prediction)
9. ทักษะการตั้งสมมุติฐาน (Formulating hypothesis)
10. ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining operationally)
11. ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and controlling variables)
ตัวแปรอิสระ หรือ ตัวแปรต้น คือ ตัวแปรที่เป็นต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลง
ตัวแปรตาม คือ ตัวแปรที่เปลี่ยนไปตามการจัดการเปลี่ยนแปลงตัวแปรต้น
ตัวแปรควบคุม คือ ตัวแปรอื่นๆ นอกจากตัวแปรต้นที่มีผลให้ตัวแปรตามเปลี่ยนแปลงได้เราจึงต้องควบคุม
12. ทักษะการทดลอง (Experimenting)
13. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป (Interpretting data and conclusion)